• สวัสดิการเกี่ยวกับมาตรการคุ้มครองดูแลการดำรงชีพแก่ชาวต่างชาติที่ประสบความขัดสนในการดำรงชีพ

(8 พฤษภาคม ปี ค.ศ 1954)

(หมายเลขสำนักงาน 382)

(ประกาศจากผู้อำนวยการสำนักกิจการสังคมกระทรวงสาธารณะสุขและสวัสดิการถึงผู้ว่าราชการจังหวัดทั่วประเทศ)

 

ทราบดีว่าทุกท่านตั้งใจและพยายามจะไม่ให้มเกิดการผิดพลาดในส่วนของงานด้านการคุ้มครองดูแลการดำรงชีพแก่ชาวต่างชาติที่ประสบความขัดสนในการดำรงชีพ แต่ทั้งนี้เพื่อความสะดวกในการจัดการข้าพเจ้าได้เรียบเรียงขั้นตอนแนวทางปฏิบัติไว้ดังต่อไปนี้โปรดทำความเข้าใจและขอให้ดำเนินปฏิบัติงานอย่างเต็มที่

 

บันทึก

 

หนึ่ง

กฏหมายการคุ้มครองดูแลการดำรงชีพ(ว่าด้วย「กฏ」ตามด้านล่างนี้)ตามมาตรา1แล้วชาวต่างชาติมิได้เป็นผู้มีสิทธิ์ที่จะใช้ระบบนี้ได้ แต่ขณะนี้ได้เปิดดำเนินการให้ความช่วยเหลือชาวต่างชาติที่ประสบความลำบากในการดำรงชีพโดยใช้หลักพิจารณาจากกฎหมายที่ใช้กับประชาชนทั่วไปและต้องปฏิบัติยื่นคำร้องตามขั้นตอนตามที่ได้ระบุด้านล่างนี้

แต่ทั้งนี้ในกรณีที่ผู้ยื่นขอการคุ้มครองดูแลเพื่อดำรงชีพหรือสมาชิกครอบครัวอยู่ในสถานการณ์ขับขันไม่มีเวลาปฏิบัติตามขั้นตอนที่ได้ระบุด้านล่างนี้ท่านสามารถดำเนินตามบทบัญญัติการช่วยเหลือตามมาตรา19วรรค2 หรือมาตรา19วรรค6ก่อนได้ จากนั้นจึงทำตามขั้นทางด้านล่างนี้

 

(1)    ชาวต่างชาติที่ประสบความลำบากในการดำรงชีวิตและต้องการยื่นขอรับการคุ้มครองดูแลการดำรงชีพ

ตามพระราชบัญญัติควบคุมการเข้าเมืองและการรับรองผู้ลี้ภัย(ตามบทบัญญัติฉบับที่319ปีค.ศ1951「กฎหมายคนเข้าเมืองด้านล่าง」)ผู้ที่ถือบัตรพำนักอาศัยในญี่ปุ่นหรือบุคคลที่สูญเสียสัญชาติญี่ปุ่นตามสนธิสัญญากับประเทศญี่ปุ่นตามกฎหมายฉบับพิเศษ(กฎหมายฉบับที่71 ปีค.ศ1991「กฎหมายคนเข้าเมือง」)จะต้องยื่นเอกสารใบรับรองผู้ที่ได้รับอนุญาตให้พำนักถาวรกรณีพิเศษต่อหน่วยงานที่เปิดดำเนินการช่วยเหลือดูแลคุ้มครองการดำรงชีพ และเอกสารที่ผู้ที่ยื่นคำร้องหรือผู้ที่มีความจำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือจะต้องเป็นเอกสารที่ระบุสัญชาติของผู้ยื่นคำร้องพร้อมกับบัตรประจำตัวผู้พำนักที่ถูกต้องหรือแสดงใบรับรองอนุญาตให้พำนักอาศัยถาวรกรณีพิเศษต่อหน่วยงานที่ดำเนินการ

 

(2)    เมื่อมีผู้ยื่นคำร้องโดยแสดงบัตรประจำตัวผู้พำนักหรือใบรับรองถิ่นที่อยู่ถาวรพิเศษ และได้ทำตามขั้นตอนที่ได้อธิบายไว้เบื้องต้น ทางหน่วยงานที่รับดำเนินการเพื่อการคุ้มครองจะทำการตรวจสอบเนื้อหาที่ระบุในใบคำร้องและเนื้อหาของบัตรประจำตัวผู้พำนักและใบรับรองผู้ที่ได้รับอนุญาตให้อาศัยถาวรกรณีพิเศษ

 

 

(3)    หากมีชาวต่างชาติได้รับการยืนยันจากรายการข้างต้น ถือว่าเป็นผู้มีความจำเป็นที่ต้องได้รับการคุ้มครอง ทาง

หน่วยงานที่รับดำเนินการคุ้มครองจะต้องรายงานต่อผู้ว่าราชการจังหวัดพร้อมจัดส่งสำเนาใบคำร้องและหมายเลข

บัตรประจำตัวผู้ได้รับอนุญาตให้พำนักหรือหมายเลขใบรับรองอนุญาตให้พำนักอาศัยถาวรกรณีพิเศษอย่างรวดเร็ว

 

(4)    หลังจากผู้ว่าราชการจังหวัดได้รับรายงานจากหน่วยงานฝ่ายดำเนินการคุ้มครองการดำรงชีพแล้วจะดำเนินการตรวจสอบว่าผู้ที่ยื่นคำร้องขอการคุ้มครองนั้นเป็นผู้ที่ไม่สามารถใช้สิทธ์ในการยื่นขอความช่วยเหลือจากสถานทูตหรือสถานกงศุลที่ตนสังกัดอยู่(รวมทั้งสถานกงสุลใหญ่หรือสำนักงานย่อยเขตนั้น)หลังจากทราบผลจะส่งเรื่องให้เจ้าหน้าที่หน่วยงานฝ่ายดำเนินการคุ้มครองการดำรงชีพ

 

สอง

 หากชาวต่างชาติที่ต้องการยื่นคำร้องเป็นชาวเกาหลีเหนือหรือชาวไต้หวัน ในขณะนี้ยังไม่มีความจำเป็นต้องทำขั้นตอนที่(3)หรือ(4) ตามที่เขียนไว้ในขั้นต้น

 

สาม 

ชาวต่างชาติที่อยู่ในช่วงได้รับเงินคุ้มครอง หากได้เข้าทำงานในสถานที่ที่มั่นคง และเมื่อไม่ต้องการความช่วยเหลืออีกต่อไป ทางรัฐบาลจะจ่ายเงินช่วยเหลือให้ชาวต่างชาติที่มีคุณสมบัติตรงตามบทบัญญัติของมาตรา55-4 วรรค1ของพระราชบัญญัติ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยให้พึ่งพาตนเองได้ในขั้นต่อไป

 

สี่ สำหรับชาวต่างชาติที่เริ่มได้รับเงินคุ้มครองแล้ว(ผู้ที่อยู่ระหว่างช่วงวันที่31มีนาคมแรกหลังจากวันที่อายุครบ18ปีว่าด้วยกฎหมายการคุ้มครองเพื่อการดำรงชีพมาตรา18-7) กรณีที่มีกำหนดจะเข้ารับการศึกษาต่อในสถานศึกษาฝึกอาชีพพิเศษตามมาตรา55-5วรรต1ของกฎหมายคนต่างด้าว ท่านจะได้รับเงินช่วยเหลือเพื่อเตรียมตัวสำหรับการเรียนต่อในขั้นต่อไป(กระทรวงสาธารณสุขและสวัสดิการฉบับที่21ปีค.ศ1950)