• การเลี้ยงดูบุตรค่าเลี้ยงดูบุตร

ค่าเลี้ยงดูบุตร

ค่าสนับสนุนเลี้ยงดูบุตร

ค่าสนับสนุนเลี้ยงดูบุตร เป็นเงินช่วยเหลือที่ให้แก่พ่อหรือแม่ของเด็ก หรือคนที่เป็นผู้เลี้ยงดูเด็กแทนพ่อแม่ เพื่อให้ชีวิตความเป็นอยู่มีเสถียรภาพและพึ่งพาตัวเองได้มากขึ้น สำหรับครอบครัวที่พ่อหรือแม่ไม่สามารถดูแลชีวิตความเป็นอยู่พร้อมกับการเลี้ยงดูบุตรไปด้วยได้ ในกรณีที่พ่อหรือแม่ยังอยู่ แต่มีความพิการรุนแรงตามที่กฎหมายกำหนดไว้ก็ได้รับเงินช่วยเหลือด้วยเช่นกัน

1. เด็กที่เข้าข่าย

  • (1) เด็กที่พ่อกับแม่หย่าร้างกัน (รวมถึงกรณีที่ไม่ได้อยู่ด้วยกันตามพฤตินัยด้วย)
  • (2) เด็กที่พ่อหรือแม่เสียชีวิต
  • (3) เด็กที่พ่อหรือแม่อยู่ในสภาพพิการรุนแรงตามกฎหมายกำหนด
  • (4) เด็กที่ไม่ทราบแน่ชัดว่าพ่อหรือแม่มีชีวิตอยู่หรือไม่
  • (5) เด็กที่ถูกพ่อหรือแม่ทอดทิ้งมากกว่า 1ขึ้นไป
  • (6) เด็กที่พ่อหรือแม่ได้รับคำสั่งคุ้มครองจากศาลกรณีที่การใช้ความรุนแรง DV
  • (7) เด็กที่พ่อหรือแม่ถูกสั่งจำคุกมากกว่า 1ปีขึ้นไป
  • (8) เด็กที่เกิดจากที่พ่อแม่ไม่ได้แต่งงานกัน
  • (9) เด็กที่ไม่ทราบพ่อแม่แน่ชัด หรือเด็กกำพร้า

เด็กคือ・・・

  • เด็กที่วันที่ครบ 18ปี อยู่ในช่วงเวลาก่อนหรือจนถึงวันที่ 31 มีนาคม
  • เด็กอายุต่ำกว่า 20ปีบริบูรณ์ที่อยู่ในสภาพพิการมากกว่าระดับกลางขึ้นไปตามที่กฎหมายกำหนด

2. กรณีที่ไม่ได้รับเงินช่วยเหลือ

  • (1) หากผู้ที่อยู่ในเงื่อนไขได้รับเงิน (พ่อ,แม่,หรือผู้ที่เลี้ยงดู) หรือบุตร ไม่มีที่อยู่ในประเทศญี่ปุ่น
  • (2) หากเด็กได้รับการดูแลภายใต้ผู้อุปถัมภ์
  • (3) หากเด็กเข้าไปอยู่ในสถานสวัสดิการเด็ก ( ไม่รวม สถานช่วยเหลือความเป็นอยู่แม่และเด็ก, สถานรับเลี้ยงเด็ก, โรงเรียนอนุบาล)
  • (4) หากเด็กได้รับการเลี้ยงดูจากคู่สมรสของผู้ที่อยู่ในเงื่อนไขได้รับเงิน (พ่อหรือแม่)
    (คู่สมรส ถึงแม้จะไม่ได้แต่งงานตามทะเบียนบ้าน แต่หากเกี่ยวข้องกันฉันสามีภรรยาตามความเป็นจริงก็รวมด้วย) อย่างไรก็ตาม ไม่รวมคู่สมรสที่อยุ่ในสภาพพิการตามที่กฎหมายกำหนดไว้
  • (5) กรณีที่ผู้อยู่ในเงื่อนไขได้รับเงินเป็นแม่หรือผู้ที่เลี้ยงดูบุตรแทนพ่อแม่ แต่บุตรอาศัยอยู่ด้วยกันกับพ่อ อย่างไรก็ตาม ไม่รวมพ่อที่อยุ่ในสภาพพิการตามที่กฎหมายกำหนดไว้
  • (6) กรณีที่ผู้อยู่ในเงื่อนไขได้รับเงินเป็นพ่อ แต่บุตรอาศัยอยู่ด้วยกันกับแม่ อย่างไรก็ตาม ไม่รวมแม่ที่อยุ่ในสภาพพิการตามที่กฎหมายกำหนดไว้

สำหรับผู้ที่ได้รับเงินบำนาญสาธารณะ หากจำนวนเงินบำนาญที่ได้รับน้อยกว่าค่าเลี้ยงดูบุตร
สามารถรับเงินส่วนต่างของค่าเลี้ยงดูบุตรในส่วนนั้นได้อีกด้วย


จนถึงตอนนี้ ผู้ที่สามารถรับเงินบำนาญสาธารณะ(※)นั้น จะไม่สามารถรับเงินค่าเลี้ยงดูบุตรได้ แต่ทว่า มีการแก้ไข “กฎหมายค่าเลี้ยงดูบุตร”บางส่วนใหม่ และตั้งแต่เดือนธันวาคม ปี ค.ศ.2014 ผู้ที่เงินบำนาญสาธารณะน้อยกว่าเงินค่าเลี้ยงดูบุตร สามารถรับเงินส่วนต่างของค่าเลี้ยงดูบุตรในส่วนนั้นได้อีกด้วย

※เงินบำนาญสาธารณะ・・・เงินบำนาญของครอบครัวผู้เสียชีวิต, เงินบำนาญคนพิการ, เงินบำนาญผู้สูงอายุ, เงินบำนาญอุบัติเหตุในระหว่างทำงาน, เงินชดเชยให้กับครอบครัวผู้เสียชีวิต


《ตัวอย่างผู้ที่สามารถได้รับเงินค่าเลี้ยงดูบุตร ตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่》
○ กรณีที่ปู่ย่าตายายที่เลี้ยงดูเด็กนั้นได้รับเงินบำนาญคนชราในจำนวนที่น้อย
○ครอบครัวพ่อกับลูก, กรณีที่บุตรได้รับแค่เงินบำนาญประกันผู้เสียชีวิตในจำนวนที่น้อย
○ครอบครัวแม่กับลูก, หลังจากหย่าแล้ว พ่อ(ของบุตร)เสียชีวิต, บุตรได้รับแค่เงินบำนาญผู้เสียชีวิตในจำนวนที่น้อย

【เดือนที่เริ่มได้รับเงินค่าเลี้ยงดู】
เงินค่าเลี้ยงดูจะเริ่มให้จากส่วนของเดือนถัดไปที่ยื่นคำร้อง

ผู้ที่ยื่นคำร้อง・・・

  • แม่ที่ดูแลเลี้ยงดูบุตร
  • พ่อที่เลี้ยงดูและดูแลความเป็นอยู่ของบุตร
  • ผู้ที่เลี้ยงดูบุตรแทนพ่อหรือแม่

3.จำนวนรายได้ที่จำกัด

รายได้ของผู้ที่ยื่นคำร้องหรือผู้ที่มีหน้าที่เลี้ยงดูบุตรนั้น หากมีจำนวนรายได้ที่เกินกว่าที่จำกัดไว้ “ตาราง 1” จะไม่สามารถรับเงินค่าเลี้ยงดูได้

※ ผู้ที่มีหน้าที่เลี้ยงดูบุตรนั้น ได้แก่ คู่สมรสของผู้ยื่นคำร้อง, ครอบครัวที่มีสายเลือดเดียวกันหรือพี่น้องที่ดูแลความเป็นอยู่, หรือ ผู้ที่เลี้ยงดูเด็กกำพร้า

กรณีที่ได้รับค่าเลี้ยงดู

รายได้ของผู้ยื่นคำร้อง, ผู้ที่มีหน้าที่ดูแลเด็ก - (1) จำนวนที่หักออก < [ตาราง 1] จำนวนเงินเข้าข่าย  + (2) จำนวนเงินคำนวณเพิ่ม

รายได้คือ…

รายได้คือ จำนวนเงินที่ถูกหักออกด้วยจำนวนเงิน เช่น จำนวนรายได้รายรับ เป็นต้น จากบุคคลที่มีรายได้
ผู้ที่ยื่นคำร้อง กรณีที่เป็นพ่อหรือแม่ จำนวนเงินจะถูกคำนวณเพิ่มโดยประมาณ 80เปอร์เซนต์ ของค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดูบุตรที่ ( ค่าใช้จ่ายที่จำเป็นต่อการเลี้ยงบุตร) บุตรหรือผู้ที่ยื่นคำร้องได้รับการชำระจากพ่อหรือแม่ของบุตร

  • (1) จำนวนเงินที่ลดหย่อน

    ลดหย่อนแบบคงที่ 80,000เยน
    ลดหย่อนสำหรับผู้พิการพิเศษ 400,000เยน
    ลดหย่อนสำหรับผู้พิการ, แรงงาน, นักเรียน 270,000เยน
    ลดหย่อนสำหรับหญิง/ชายหม้าย 270,000เยน (ไม่ลดหย่อนหากพ่อหรือแม่เป็นผู้ยื่นคำร้อง)
    ลดหย่อนกรณีพิเศษสำหรับหญิงหม้าย 350,000เยน (ไม่ลดหย่อนกรณีที่พ่อหรือแม่เป็นผู้ยื่นคำร้อง)

    ※ ค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ด, เงินสมทบเงินช่วยเหลือธุรกิจขนาดเล็ก, ค่ารักษาพยาบาล, เงินสำหรับคู่สมรสกรณีพิเศษลดหย่อนตามจริง


  • (2) จำนวนเงินที่คำนวณเพิ่มจากจำนวนรายได้ที่จำกัด

    ผู้ยื่นคำร้อง

    คู่สมรสที่เข้าข่ายลดหย่อนคนชรา  ※ 100,000เยน ต่อ1คน
    ครอบครัวที่เลี้ยงดูคนชรา ※ 100,000เยน ต่อ1คน
    ครอบครัวที่รับภาระเฉพาะ (19-22ปี) ※ 150,000เยน ต่อ1คน
    ครอบครัวที่รับภาระ (16-18ปี) ※ 150,000เยน ต่อ1คน


    ผู้ที่มีหน้าที่รับภาระเลี้ยงดู

    ครอบครัวที่รับภาระเลี้ยงดูคนชรา ) ※ 60,00เยน ต่อ1คน
    (กรณีทุกคนมีอายุ 70ปีขึ้นจะเอาออก 1คน)

ตาราง1 จำนวนรายได้ที่จำกัด (หน่วย – เยน)

ครอบครัวที่รับภาระ รายได้ของผู้ยื่นคำร้อง จำนวนเงินของผู้ที่มีหน้าที่เลี้ยงดู
เงินที่ได้รับทั้งหมด เงินที่ได้รับบางส่วน

จำนวนของครอบครัวที่รับภาระ :0

190,000

1,920,000

2,360,000

จำนวนของครอบครัวที่รับภาระ :1

570,000

2,300,000

2,740,000

จำนวนของครอบครัวที่รับภาระ :2

950,000

2,680,000

3,120,000

จำนวนของครอบครัวที่รับภาระ :3

1,330,000

3,060,000

3,500,000

จำนวนของครอบครัวที่รับภาระ :4

1,710,000

3,440,000

3,880,000

จำนวนของครอบครัวที่รับภาระ :5

2,090,000

3,820,000

4,260,000

※จำนวนเงินช่วยเหลือของเดือนสิงหาคม ปีนี้ – เดือนกรกฎาคม ปีถัดไปจะคำนวณด้วยรายได้ที่เกิดขึ้นระหว่างปีที่แล้ว
※จำนวนรายได้, จำนวนของครอบครัวที่รับภาระ ขึ้นอยู่กับทะเบียนภาษีของแผนกภาษีท้องที่

4. จำนวนเงินช่วยเหลือ

  • (1) คำนวณเพิ่ม บุตรคนที่2 5,000เยน, ตั้งแต่คนที่ 3 3,000เยนต่อ 1คน

  • (2) ระยะเวลาการให้เงินช่วยเหลือ เมื่อเกิน 5ปี (หากตอนคำร้องที่ยื่นได้รับการรับรอง บุตรมีอายุไม่เกิน 3ปี เมื่อบุตรคนนั้นได้ 8ปี) เงินช่วยเหลือบางส่วนจะถูกระงับ อย่างไรก็ตาม กรณีที่ได้เริ่มทำงานหรืออยู่ในระหว่างการหางานหากที่มีผู้พิการ หากยื่นคำร้องเงินช่วยเหลือบางส่วนจะไม่ถูกระงับ ผู้ที่เข้าข่ายต้องแจ้งล่วงหน้า และดำเนินขั้นตอนที่จำเป็น

จำนวนเงินที่ช่วยเหลือทั้งหมด 42,330เยน

จำนวนเงินที่ช่วยเหลือบางส่วน 42,320-9,990เยน

วิธีคำนวณค่าเลี้ยงดู

 

= 42,320เยน – (รายได้ของผู้ที่ยื่นคำร้อง – จำนวนรายได้ที่จำกัด ※ เขียนไว้ด้านบน “ตาราง1” จำนวนเงินช่วยเหลือทั้งหมด × 0.0186879

※ ปัดเศษของจำนวนเงินช่วยเหลือบางส่วน ไม่เกิน 10เยน

5. การรับรอง - วิธีการจ่ายเงินช่วยเหลือ

  • ปรึกษา

    ปรึกษาได้ที่ฝ่ายสวัสดิการเด็กประจำที่ทำการอำเภอ, สาขาย่อย, ศูนย์ฮกคุชินในเขตที่อาศัย

    อธิบายเกี่ยวกับระบบเงินเลี้ยงดูเด็ก และเอกสารที่จำเป็น

    การยื่นคำร้อง

    ในการยื่นคำร้อง กรุณาจัดเตรียมเอกสารที่จำเป็นให้ครบถ้วน

    การรับรอง

    ตรวจสอบเอกสารที่ยื่นคำร้องและจะส่งเอกสารแจ้งผล

    (จะใช้เวลาประมาณ 2-3เดือนในการแจ้งผล)

    การจ่ายเงินช่วยเหลือ

    กรณีที่ได้รับการรับรองผล จะจ่ายเงินช่วยเหลือของเดือนถัดไปจากเดือนที่ได้ยื่นคำร้อง

    การจ่ายเงิน ปีละ 3ครั้ง (วันที่ 11 ของเดือนธันวาคม, เดือนเมษายน, เดือนสิงหาคม) จะจ่ายเงินค่าเลี้ยงดูของทั้ง 4เดือนก่อนหน้า โดยการโอนเข้าบัญชีที่แจ้งไว้

    เพื่อตรวจสอบการจ่ายเงินค่าเลี้ยงดูบุตรว่ามีความถูกต้องหรือไม่ หลังจากได้รับการรับรอง เดือนสิงหาคมของทุกปี ปีละ1ครั้ง จำเป็นต้องส่งเอกสารแสดงสถานะเพื่อตรวจสอบว่ายังมีคุณสมบัติที่จะได้รับค่าเลี้ยงดูอยู่หรือไม่

!ข้อควรรระวัง!

  • กรณีที่สูญเสียคุณสมบัติการได้รับค่าเลี้ยงดูเช่นการแต่งงาน, กรณที่จำนวนเงินค่าเลี้ยงดูเปลี่ยนแปลงเนื่องมาจากจำนวนบุตรที่ต้องเลี้ยงดูเปลี่ยน, กรุณาแจ้งเรื่องทันที กรณีที่เกินการจ่ายเงินเกินจำนวน จะต้องคืนเงินจำนวนดังกล่าว กรุณาระมัดระวัง
    อนึ่ง ถึงแม้จะไม่ได้แต่งงานโดยการเข้าทะเบียนบ้าน แต่หากอยู่ในสถานะที่แต่งงานกันโดยพฤตินัยก็ถือว่ารวมอยู่ด้วย ถึงแม้ว่าจะไม่ได้อาศัยอยู่ด้วยกัน จะพิจารณาว่าแต่งงานกันจริงตามพฤตินัยไปตามแต่กรณี (เช่นการตั้งครรภ์, หรือการอยู่ร่วมกับคนต่างเพศที่ไม่ใช่ญาติพี่น้องเป็นต้น)
  • กรณีที่ที่อยู่จริงกับที่อยู่ในทะเบียนบ้านต่างกัน จำเป็นต้องยื่นเรื่องตรวจสอบคุณสมบัติ อาจมีการสูญเสียคุณสมบัติการได้รับเงินแล้วแต่กรณี
  • หากให้ข้อมูลที่เป็นเท็จหรือใช้วิธีการที่ไม่ถูกต้องเพื่อให้ได้รับเงินค่าเลี้ยงดู จะต้องคืนเงินค่าเลี้ยงดู, และได้รับโทษจำคุกไม่เกิน 3ปีหรือปรับไม่เกิน 300,000เยน

สถานที่สอบถาม

ที่ทำการอำเภอ ฝ่ายสวัสดิการเด็ก

ฮิกาชินะดะ

078-841-4131
นะดะ 078-843-7001
ฉูโอ 078-232-4411
เฮียวโกะ 078-511-2111
นากะตะ 078-579-2311
สุมะ 078-731-4341
สาขาย่อยคิตะสุมะ 078-793-1313
ทะรุมิ 078-708-5151
คิตะ 078-593-1111
สาขาคิตะฮกคุชิน อำเภอคิตะ 078-981-1748
นิชิ 078-929-0001
แผนกเด็กและครอบครัว ศูนย์เด็กและครอบครัว 078-322-5214

ข้อมูลข้างต้นเป็นข้อมูลที่ตรวจสอบได้เมื่อ เดือนกรกฎาคม ปี 2015 หลังจากนั้น อาจมีระบบใหม่หรือมีการเปลี่ยนแปลงระบบเกิดขึ้น อนึ่ง ลิงค์ของโฮมเพจ จะอยู่ในการจัดการและความรับผิดชอบของผู้จัดทำ(องค์กร) ทางอำเภอโกเบจะไม่มีส่วนรับผิดชอบเกี่ยวกับเนื้อหานั้นๆ